วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

Baidu PC Faster


Baidu PC Faster (โปรแกรมอัพเดท Windows เพิ่มความเร็วเครื่อง แก้ปัญหาคอมช้า) : สำหรับโปรแกรม Baidu PC Faster เป็นโปรแกรมในกลุ่ม PC Faster นั่นหมายถึง ช่วยเสริมความปลอดภัยให้แก่วินโดวส์ (Windows) และ ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานเร็วขึ้นกว่าเดิม เป็นโปรแกรมที่แจกฟรี นอกจากนี้แล้วยัง พัฒนามาเพื่อ แก้ปัญหาคอมช้าอีกด้วย
โปรแกรม Baidu PC Faster ถูกพัฒนาขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) จากบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Baidu Inc. ที่มีรายชื่อในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาด้วย ดังนั้นเรื่องทีมพัฒนา ทีมวิจัย คิดค้น โปรแกรม หายห่วง มั่นใจได้แน่นอน หากคุณดาวน์โหลด โปรแกรมนี้ไป เพียงแค่หนึ่งคลิกผ่านโปรแกรม Baidu PC Faster ก็สามารถดูแล ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) ของคุณได้อย่างครอบคลุม ง่ายดาย และรวดเร็ว ทันที
ในขณะนี้ โปรแกรมได้ถูกพัฒนาขึ้นมาถึงในเวอร์ชั่น 3 แล้ว คอนเซปการพัฒนาคือ เน้นความสามารถของการพัฒนา ไปในด้านของ การรักษาความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตมากขึ้น (Cloud Protection) มากขึ้น เพื่อให้ตอบโจทย์ และ สอดคล้องกัน ความนิยมของโลกออนไลน์ ที่มีอยู่ในปัจจุบันมากขึ้น


Window 7


วินโดวส์ 7 (อังกฤษ: Windows 7 วินโดวส์เซเวนวินโดวส์เจ็ด) เป็นซอฟต์แวร์ของระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ในสายวินโดวส์ สำหรับใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและมีเดียเซนเตอร์โดยวันออกจำหน่ายจริงยังไม่ได้ระบุไว้โดยจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ได้มีการประกาศเปิดตัววินโดวส์ 7 ในช่วงปี พ.ศ. 2550 ว่าการพัฒนาวินโดวส์ตัวนี้จะใช้เวลาสามปีให้หลังจากการวางจำหน่ายวินโดวส์ วิสตา
คุณสมบัติใหม่ของวินโดวส์ตัวนี้จะมีจุดเด่นในส่วนของ รองรับระบบมัลติทัช มีการออกแบบวินโดวส์เชลล์ใหม่ และระบบเน็ตเวิร์กแบบใหม่ภายใต้ชื่อโฮมกรุ๊ป (HomeGroup) ในขณะที่คุณสมบัติหลายส่วนในวินโดวส์รุ่นก่อนหน้าจะถูกนำออกไปได้แก่ วินโดวส์มูฟวีเมเกอร์ และ วินโดวส์โฟโตแกลเลอรี
รุ่นทดสอบล่าสุดคือรุ่น 6.1.7100 (Windows 7 RC) ออกให้ทดสอบเมื่อ 30 เมษายน 2552 โดยในช่วงเวลาเดียวกันได้มีการแจ้งว่าผู้ที่ดาวน์โหลดไฟล์จากแหล่งอื่นนอกเหนือจากทางเว็บไมโครซอฟท์ มีโอกาสที่ผู้ให้บริการดาวน์โหลดสอดแทรกมัลแวร์หรือโทรจันมากับไฟล์ด้วย


WII (เครื่องเล่นเกม)


วี (Wii) เป็นครื่องเล่นวิดีโอเกมรุ่นที่ 5 ของบริษัทนินเทนโดภายใต้ชื่อรหัสพัฒนาว่า เรฟโวลูชัน (Revolution) ซึ่งเป็นรุ่นที่จะออกมาถัดจากเครื่อง เกมคิวบ์โดยที่จอยแพดที่ใช้ควบคุม จะเป็นรูปทรงเหมือน รีโมตโทรทัศน์ และเกมที่ใช้เล่นก็จะใช้การควบคุม โดยการเคลื่อนไหวจอยแพดนี้ ไปในทิศทางต่างๆอีกด้วย

ตัวเครื่อง


ครื่องเล่นวี เป็นเครื่องเล่นเกมที่มีขนาดเล็กที่สุด ของนินเทนโด ตัวเครื่องมีขนาดกว้าง 44 มม (1.73 นิ้ว) , สูง 157 มม (6.18 นิ้ว) , หนา 215.4 มม (8.48 นิ้ว) ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับกล่องดีวีดี 3 กล่องรวมกัน ขาตั้งที่มากับเครื่อง มีขนาดกว้าง 55.4 มม (2.18 นิ้ว) , สูง 44 มม (1.73 นิ้ว) และ หนา 225.6 มม (8.88 นิ้ว) รวมทั้งหมดหนัก 1.2 กก (2.7 ปอนด์)  นับเป็นเครื่องเล่นเกม ที่มีน้ำหนักเบาที่สุดของ เครื่องเล่นเกมรุ่นที่ 7 ตัวเครื่องสามารถวางได้ ทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง รหัสของชิ้นส่วนประกอบ และ อุปกรณ์เพิ่มเติม ขึ้นต้นด้วย "RVL" มาจากโค้ดเนม "รีโวลูชัน" (Revolution) 
ด้านหน้าของตัวเครื่องประกอบด้วย ช่องใส่แผ่นดิสก์เรืองแสง ซึ่งสามารถใส่แผ่นดิสก์วี ขนาด 12 ซม หรือ แผ่นดิสก์เกมคิวบ์ แสงสีฟ้าในช่องใส่แผ่นดิสก์จะเรืองแสง เป็นเวลาสั้นๆเมื่อเปิดเครื่อง และวูบวาบเมื่อมีข้อมูลเข้ามาจาก WiiConnect24. หลังจากเฟิร์มแวร์อัปเดต เวอร์ชัน 3.0 ช่องใส่แผ่นดิสก์จะมีแสงทุกครั้ง เมื่อใส่หรือถอดแผ่นดิสก์ เวลาไม่มีข้อมูลเข้า หรือเวลาเล่นเกม จะไม่มีแสงที่ช่องใส่แผ่นดิสก์ ยูเอสบี พอร์ท 2 อันอยู่ด้านหลังของตัวเครื่อง ช่องใส่ เอสดีการ์ด ถูกซ่อนอยู่ด้านหลังฝาปิด ด้านหน้าของตัวเครื่อง แผ่นเอสดีการ์ด สามารถใช้สำหรับอัปโหลด รูปภาพ หรือใช้เก็บสำรอง เซฟเกม และ เกมเวอร์ชัวคอนโซล เนื่องจากระบบการจัดการสิทธิทางดิจิตอล ข้อมูลของเวอร์ชัวคอนโซล จะนำไปใช้กับเครื่องอื่นไม่ได้ ใช้ได้เฉพาะเครื่องที่ ดาวน์โหลดมาเท่านั้น ในการใช้ช่องใส่เอสดีการ์ด สำหรับเซฟเกม ต้องมีการอัปเดตซอฟต์แวร์ก่อนด้วยการดาวน์โหลดแพทช์ ดังนั้นเครื่องที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต ก็จะไม่สามารถเซฟเกมไว้ใน เอสดีการ์ดได้ เอสดีการ์ดสามารถใช้สร้างเพลงภายในเกม จากไฟล์เอ็มพี3 อย่างเช่นในเกม Excite Truck และยังสร้างเพลงสำหรับสไลด์โชว์ ในโฟโต้แชนแนลได้อีกด้วย นินเทนโดได้แสดงตัวเครื่อง และวีรีโมท ในสีขาว, ดำ, เงิน, เขียวมะนาว, และแดง แต่ที่มีขายขณะนี้มีแค่สีขาว นายชิเงรุ มิยาโมโตะ ย้ำว่าสีอื่นๆจะมีขายเมื่อ ไม่มีปัญหาผลิตไม่ทันแล้ว 
ชุดเปิดตัวเครื่องเล่นวี ประกอบด้วย ตัวเครื่อง ขาตั้งสำหรับตั้งตัวเครื่องในแนวตั้ง, วีโมต 1 อัน, วีเซนเซอร์บาร์ 1 อัน, ขาตั้งเซนเซอร์บาร์ 1 อัน, พาวเวอร์อแดปเตอร์ 1 อัน, ถ่านไฟฉาย AA 2 ก้อน, สายต่อวิดีโอชนิด composite 1 เส้น, หนังสือคู่มือการใช้งาน, และ (ยกเว้นที่ขายในญี่ปุ่น) เกมวีสปอร์ต


รีโมต
           วีรีโมต (บางครั้งเรียกว่า วีโมต (Wiimote) ซึ่งแปลงมาจากคำว่า รีโมต (remote)) เป็นที่บังคับหลักของเครื่องวีที่ใช้ในเกมหลักๆของเครื่อง และมีอยู่ในชุดการขายพื้นฐาน ประกอบด้วยสองส่วนคือ วีรีโมต มีรูปทรงเหมือนรีโมตโทรทัศน์ โดยมีคุณสมบัติหลักคือมีเซนเซอร์ในการตรวจจับการเคลื่อนไหว และควบคุมการเล่นเกมโดยการเคลื่อนไหวรีโมตนี้ไปในทิศทางต่างๆ และต้องวางตัวตรวจจับความเคลื่อนไหว(Wii Sensor Bar)ไว้ด้านบนของโทรทัศน์ที่ใช้เล่น และจอยอนาล็อก หรือที่เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่านุนชะคุ (Nunchuk) ใช้เชื่อมต่อกับวีรีโมต ใช้ในการบังคับทิศทางต่างๆ


สัญญาณกันขโมย


ระบบการทำงานเป็น 2 ระบบ คือ สัญญาณกันขโมยระบบใช้สายไฟ ใช้สายไฟเชื่อมต่อการทำงานระหว่างอุปกรณืตรวจจับสัญญาณเครื่องรับสัญญาณ หรือเครื่องควบคุมและอุปกรณ์ส่ง สัญญาณกันขโมยแบบไร้สาย การเชื่อมต่อการทำงานใช้ระบบคลื่นวิทยุแทน

ระบบการทำงานเป็น ระบบ คือ
1. 
สัญญาณกันขโมยระบบใช้สายไฟ ใช้สายไฟเชื่อมต่อการทำงานระหว่างอุปกรณืตรวจจับสัญญาณเครื่องรับสัญญาณหรือเครื่องควบคุมและอุปกรณ์ส่งสัญญาณเสียง มีข้อดีคือ มีความแน่นอนในการส่งสัญญาณเนื่องจากเชื่อมต่อด้วยระบบสายไฟ วางได้แทบทุกตำแหน่ง บำรุงรักษาง่าย ไม่แพงมาก มีข้อเสีย คือติดตั้งยุ่งยากเพราะต้องเดินสายไฟแบบฝังภายใน เวลาเกิดปัญหาการตรวจสอบแก้ไขจะทำได้ยาก ถ้าเดินสายไฟแบบเดินสายลอยก็แก้ไขไม่ยุ่งยาก 
2. 
สัญญาณกันขโมยแบบไร้สาย การเชื่อมต่อการทำงานใช้ระบบคลื่นวิทยุแทน อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณจะจะเป็นเครื่องส่งวิทยุเพื่อกระตุ้นให้เครื่องรับสัญญาณทำงานเมื่อมีเหตุผิดปกติเกืดขึ้น ข้อดีคือ ติดตั้งง่าย ไม่ต้องเดินสายไฟให้ยุ่งยาก มีข้อเสียคือ มีข้อจำกัดในการวางตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม การส่งและรับสัญญาณคลื่นวิทยุ อาจโดนบดบัง จึงไม่เหมาะกับบ้านขนาดใหญ่หรือหลายชั้น ต้องติดตั้งอุปกรณ์กระจัดกระจาย 
ต้องคอยเปลี่ยนแบตเตอรี่

องค์ประกอบและอุปกรณ์ต่างๆ 
1. อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ ตรวจจับสิ่งผิดปกติต่างๆที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ และส่งสัญญาณไปเครื่องรับส่งสัยญาณ มีอุปกรณ์พิ้นฐานคือ สวิตช์แม่เหล็ก ติดบริเวณประตูหรือหน้าต่าง อุปกรณ์ป้องกันการทุบกระจก เครื่องตรวจจับด้วยแสงอินฟราเรด 
2. เครื่องรับสัญญาณหรือเครื่องควบคุม รับสัญญาณจากอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณทุกจุด ควบคุม และประสานกรทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ให้สัมพันธ์กัน ส่งสัญญาณเตือนภัย กดรหัสผ่านเพื่อปิดหรือเปิดเครื่อง เลือกรูปแบบการทำงานต่างๆ 
3. ลำโพงสัญญาณเตือนภัย หรือไซเรน ส่งสัญญาณเสียงเพื่อเตือนภัยจะรับสัญญาณมาจากเครื่องควบคุมอีกทีหนึ่ง ควรอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อเครื่องทำงานแล้วจะได้ยินไปไกล 
4. แบตเตอรรี่สำรอง สามารถชาร์จไฟไปได้ในตัว เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน



3G คืออะไร

3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูง


Router

  Router คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าแปลความหมายคำว่า Route ก็คือ ถนน นั่นเอง ดังนั้น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วย Router ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้มากกว่าหนึ่งเครื่องในเวลาเดียวกัน ซึ่ง Router นั้นจะมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานเรียกว่า Internetwork Operating System (IOS) และตัว Router จะมีช่องที่ใช้เสียบต่อสายสัญญาณเรียกว่า Port LAN ซึ่งโดยทั่วไปมักมี 4 Ports หรือมากกว่า ใน Router 1 ตัว 


 หน้าที่หลักของ Router คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไม่ว่าจะเป็น Ethernet, Token Rink หรือ FDDI ทั้งๆที่ในแต่ละระบบจะมี packet เป็นรูปแบบของตนเองซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IP, IPX หรือ AppleTalk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของ Layer 2 คือ Data Link Layer เมื่อ Router ได้รับข้อมูลมาก็จะตรวจดูใน packet เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงเป็น Packet ของ Data Link Layer ที่ถูกต้องอีกครั้ง เพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง


วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

จีพีเอส GPS

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก[1] หรือ จีพีเอส (อังกฤษGlobal Positioning System: GPS) คือระบบบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลก โดยอาศัยการคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกซึ่งทราบตำแหน่ง ทำให้ระบบนี้สามารถบอกตำแหน่ง ณ จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโลก โดยเครื่องรับสัญญาณจีพีเอส รุ่นใหม่ๆ จะสามารถคำนวณความเร็วและทิศทางนำมาใช้ร่วมกับโปรแกรมแผนที่ เพื่อใช้ในการนำทางได้
แนวคิดในการพัฒนาระบบจีพีเอส เริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 เมื่อนักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา นำโดย Dr. Richard B. Kershner ได้ติดตามการส่งดาวเทียมสปุตนิกของโซเวียต และพบปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ของคลื่นวิทยุที่ส่งมาจากดาวเทียม พวกเขาพบว่าหากทราบตำแหน่งที่แน่นอนบนพื้นผิวโลก ก็สามารถระบุตำแหน่งของดาวเทียมได้จากการตรวจวัดดอปเปลอร์ และหากทราบตำแหน่งที่แน่นอนของดาวเทียม ก็สามารถระบุตำแหน่งบนพื้นโลกได้ ในทางกลับกัน
กองทัพเรือสหรัฐได้ทดลองระบบนำทางด้วยดาวเทียม ชื่อ TRANSIT เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1960 ประกอบด้วยดาวเทียมจำนวน 5 ดวง ส่วนดาวเทียมที่ใช้ในระบบจีพีเอส (GPS Block-I) ส่งขึ้นทดลองเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1978 เพื่อใช้ในทางการทหาร
เมื่อ ค.ศ. 1983 หลังจากเกิดเหตุการณ์โคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007 ของเกาหลีใต้ บินพลัดหลงเข้าไปในน่านฟ้าของสหภาพโซเวียต และถูกยิงตก ผู้โดยสาร 269 คนเสียชีวิตทั้งหมด ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนได้ประกาศว่า เมื่อพัฒนาระบบจีพีเอสแล้วเสร็จ จะอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปใช้งานได้
ดาวเทียมจีพีเอส เป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรระดับกลาง (Medium Earth Orbit: MEO) ที่ระดับความสูงประมาณ 20,200 กิโลเมตร (12,600 ไมล์ หรือ 10,900 ไมล์ทะเล) จากพื้นโลก ใช้การยืนยันตำแหน่งโดยอาศัยพิกัดจากดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง ดาวเทียมจะโคจรรอบโลกเป็นเวลา 4-8 ชั่วโมงต่อหนึ่งรอบ ที่ความเร็ว 4 กิโลเมตร/วินาที การโคจรแต่ละรอบนั้นสามารถได้เป็น 6 ระนาบๆ ละ 4 ดวง ทำมุม 55 องศา โดยทั้งระบบจะต้องมีดาวเทียม 24 ดวง หรือมากกว่า เพื่อให้สามารถยืนยันตำแหน่งได้ครอบคลุมทุกจุดบนผิวโลก ปัจจุบัน เป็นดาวเทียม GPS Block-II มีดาวเทียมสำรองประมาณ 4-6 ดวง

ระยะจากจุดที่ 1 (X1, Y1) D_1 = \sqrt{(X_1-x) ^2 + (Y_1-y) ^2}
ระยะจากจุดที่ 2 (X2, Y2D_2 = \sqrt{(X_2-x) ^2 + (Y_2-y) ^2}
ถ้าเป็นสามมิติก็สามารถทำได้ในลักษณะเดียวกัน โดยมีจุดที่กำหนดให้ 3 จุด ในทำนองเดียวกัน สมการอย่างง่าย
ระยะจากจุดที่ 1 D_1 = \sqrt{(X_1-x) ^2 + (Y_1-y) ^2 + (Z_1-z) ^2}
ระยะจากจุดที่ 2 D_2 = \sqrt{(X_2-x) ^2 + (Y_2-y) ^2 + (Z_2-z) ^2}
ระยะจากจุดที่ 3 D_3 = \sqrt{(X_3-x) ^2 + (Y_3-y) ^2 + (Z_3-z) ^2}
สำหรับระยะทางนั้น เครื่องรับสัญญาณจีพีเอสสามารถคำนวณโดยการจับเวลาที่สัญญาณเดินทางจากดาวเทียมถึงเครื่องรับ แล้วคูณด้วยความเร็วแสง ก็จะได้ระยะ ณ เสี้ยวเวลา (epoch) ที่ดาวเทียมห่างจากเครื่องรับ ถ้าไรก็ดี เนื่องจากคลื่นเดินทางด้วยความเร็วแสง นาฬิกาที่จับเวลาที่เครื่องรับมีคุณภาพเหมือนนาฬิกาควอตซ์ทั่วไป ความผิดพลาดจากการจับเวลา (dt) แม้เพียงเล็กน้อยก็ทำให้ระยะผิดไปมาก ความผิดพลาดดังกล่าวจึงนับเป็นตัวแปรสำคัญในการคำนวณตำแหน่ง ด้วยเหตุนี้ การหาตำแหน่งจึงมีตัวแปรพื้นฐานที่สำคัญรวม 4 ตัวแปร ได้แก่ ตำแหน่งที่ต้องการหาใน 3 มิติ (x,y,z) และ ความผิดพลาดอันเนื่องมาจากนาฬิกาที่ใช้ ทำให้เราต้องการดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง เพื่อสร้าง 4 สมการ ในการแก้ตัวแปรทั้ง 4 สมการอย่างง่ายจึงกลายเป็น
ระยะจากจุดที่ 1 D_1 = \sqrt{(X_1-x) ^2 + (Y_1-y) ^2 + (Z_1-z) ^2} + c\;dt
ระยะจากจุดที่ 2 D_2 = \sqrt{(X_2-x) ^2 + (Y_2-y) ^2 + (Z_2-z) ^2} + c\;dt
ระยะจากจุดที่ 3 D_3 = \sqrt{(X_3-x) ^2 + (Y_3-y) ^2 + (Z_3-z) ^2} + c\;dt
ระยะจากจุดที่ 4 D_4 = \sqrt{(X_4-x) ^2 + (Y_4-y) ^2 + (Z_4-z) ^2} + c\;dt
เมื่อ c เป็นความเร็วแสง
ในกรณีที่มีจำนวนดาวเทียมมากกว่านี้ ก็จะมีจำนวนสมการมากขึ้นเท่ากับจำนวนดาวเทียมสังเกตการณ์



การดูภาพยนตร์ 3 มิติ โดยใช้แว่นสีแดง-น้ำเงิน



การดูภาพยนต์ 3 มิติ ด้วยวิธีนี้นั้นใช้เครื่องฉายภาพยนตร์ 2 เครื่อง เครื่องแรกฉายผ่านกระจกกรองแสงสีแดงฉายภาพที่มีสีแดง เครื่องที่สอง ฉายผ่านกระจกกรองแสงสีน้ำเงินฉายภาพที่มีสีน้ำเงิน ฉายพร้อมกันไปที่จอภาพยนตร์ โดยให้ผู้ชมสวมแว่นที่ข้างหนึ่งเป็นสีน้ำเงินและข้างหนึ่งเป็นสีแดง

    

รูปแสดงภาพที่เกิดจากการฉายภาพจากกล้องทั้ง 2 สี คือสีแดง-น้ำเงิน ลงบนจอภาพยนตร์

ถ้าหากเราใช้ปากกาสีแดงและสีน้ำเงินเขียนตัวหนังสือลงบนกระดาษสีขาว เมื่อมองผ่านแว่นสีแดงจะเห็นกระดาษขาวทั้งแผ่นกายเป็นสีแดงและตัวหนังสือสีแดงจะกลมกลืนไปทำให้มองไม่เห็น แต่สีน้ำเงินจะผ่านแว่นสีแดงไม่ได้ จึงมองเห็นตัวหนังสือเป็นสีดำ ในทำนองเดียวกันเมื่อมองผ่านแว่นสีน้ำเงินจะมองไม่เห็นตัวหนังสือสีน้ำเงิน แต่มองตัวหนังสือสีแดงกลายเป็นสีดำไป (หลักการเรื่องนี้ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องสเปกตรัมของแสง และการมองเห็นสีของวัตถุนะครับ)  
อออออดังนั้น เมื่อผู้ชมสวมแว่นสีแดงและสีน้ำเงินมองภาพสีแดงและสีน้ำเงิน ตาข้างหนึ่งก็จะมองเห็นแต่ภาพของสีน้ำเงินในขณะที่ตาอีกข้างหนึ่งก็จะเห็นแต่ภาพสีแดง สมองจะรวมภาพจากตาทั้ง 2 ข้าง และสร้างภาพในการรับรู้ของเราเป็นภาพ 3 มิติ ดังแผนภาพด้านล่าง



โทรทัศน์ระบบดิจิทัล

โทรทัศน์ระบบดิจิทัล หรือ โทรทัศน์ดิจิทัล (อังกฤษDigital television) หรือทีวีดิจิตอล คือการส่งผ่านของเสียงและวิดีโอโดยสัญญาณดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งความคมชัดของภาพและเสียง การส่งข้อมูลแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบแอนะล็อกในหนึ่งช่องสัญญาณ จึงเรียกได้อีกอย่างว่า Multicasting การส่งสัญญาณเป็นแบบดิจิตอลจึงทำให้ได้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าด้วย เช่น โทรทัศน์ระบบ HDTV ตรงกันข้ามอะนาล็อกก็ใช้กับสัญญาณโทรทัศน์อะนาล็อก หลายประเทศจะเปลี่ยนการรับสัญญาณโทรทัศน์จากระบบอะนาล็อกเป็นโทรทัศน์ระบบดิจิทัล เพื่อออกอากาศโทรทัศน์แบบอะนาล็อกได้ จึงใช้วิทยุคลื่นความถี่เดิม โทรทัศน์แต่เดิมใช้ระบบอนาลอก (analog) หรือเชิงเส้นทั้งในภาคการส่งสัญญาณและภาครับสัญญาณ แต่ต่อมาเมื่อระบบคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาอย่างกว้างขวางขึ้น จึงได้มีการนำระบบคอมพิวเตอร์นำมาพัฒนาใช้ในการช่วยโทรทัศน์ แต่ต่อมาได้มีผู้เล็งเห็นว่าหากนำ เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์มาผสมผสานกับเทคโนโลยีของโทรทัศน์ คงจะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาล คอมพิวเตอร์นั้นใช้ส่งสัญญาณ และรับสัญญาณในระบบดิจิตอล ดังนั้น จึงได้ปรับปรุงโทรทัศน์ให้ใช้ระบบดิจิตอลด้วย เนื่องจากโทรทัศน์ใช้กันทั่วโลก การเปลี่ยนระบบจากอนาลอกเป็นระบบดิจิตอล จึงต้องเปลี่ยนทั่วโลก ซึ่งคณะกรรมการสหภาพโทรคมนาคมสากล (ITU) กำลังประชุมกันอยู่ โดยกำหนดมาตรฐานดังนี้ 1.ระบบแพร่ภาพดิจิตอลผ่านดาวเทียม (DVB-S The Digital Video Broadcasting Satellite System) , 2.ระบบแพร่ภาพดิจิตอลผ่านสายเคเบิล (DVB-C the digital cable eleliverly system) และ 3. ระบบแพร่ภาพดิจิตอลภาคพื้นดิน (DVB-T the Digital Terrestrial Television System)

กลไกลการทำงาน

เป็นระบบการรับส่งสัญญาณภาพและเสียงที่มีข้อมูลที่มีการเข้ารหัสเป็นดิจิตอล ทีมีค่า “0” กับ “1” เท่านั้น โดยมีกระบวนการต่าง ๆ ที่จะทำการแปลงสัญญาณภาพและเสียงให้เป็น ดิจิตอล มีการบีบอัดข้อมูล ทำการเข้ารหัสข้อมูล ก่อนที่จะทำการมอดูเลตข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้เพื่อส่งผ่านตัวกลางไปสู่ผู้รับปลายทาง ซึ่งต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับโทรทัศน์ระบบอะนาล็อก เมื่อสัญญาณดิจิตอลถูกส่งมายังเครื่องรับโทรทัศน์ จะผ่านกระบวนการบีบอัดข้อมูลสัญญาณดิจิตอล โดย MPEG-2 หรือ MPEG-4 ทำการถอดรหัส หลังจากนั้นสัญญาณจะถูกส่งไปยังหลอดภาพ แล้วหลอดภาพจะยิงลำแสงออกไปยังหน้าจอโทรทัศน์ ทำให้เกิด Pixel (จุดภาพ) บนจอภาพ ซึ่งในระบบ HDTV นั้นจะให้ภาพที่มีความละเอียดของ Pixel สูงกว่าโทรทัศน์ทั่วไปมาก จึงทำให้ภาพที่ออกมามีความคมชัด ละเอียด และไม่มีการกระพริบของสัญญาณภาพ ลักษณะการยิงลำแสง แบ่งได้ 2 แบบ คือ Interlaced Scanning และProgressive Scanning[1]
  • 480i/576i (SDTV) เป็นสัญญาณโทรทัศน์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นแบบดิจิทัล[2]
  • 480p/576p (EDTV) เป็นโทรทัศน์ที่มีความชัดเจนเพิ่มขึ้น (Enhanced Definition Television) หรือEDTV ที่ให้ภาพชัดเจนใกล้เคียงกับ HDTV ซึ่งดีกว่าที่รับชมกันในขณะนี้และทุกวันนี้สามารถ เล่นแผ่นดีวีดีทั้งหมดกับ EDTV ได้
  • 720p (HDTV) เป็น HDTV format ที่ให้คุณภาพใกล้เคียงกับ 1080i แต่ก็ยอมให้ส่งสัญญาณ 480p ได้ด้วย
  • 1080i (HDTV) เป็น HDTV image ที่มีคุณภาพของภาพที่คมชัดซึ่งเป็นแบบที่ผู้ให้บริการโทรทัศน์ใช้อยู่